เมื่อเมล็ดแคคตัสที่เราได้เพาะเอาไว้ เริ่มงอกและเจริญเติบโตไปจนถึงระดับนึง ก็ถึงเวลาที่เราจะต้องมาจับเค้าย้ายกระถาง เปลี่ยนดิน เพื่อให้เค้าได้แยกย้ายกันไปเจริญเติบโตตามเส้นทางของแต่ละต้น
ซึ่งสำหรับตัวผมนั้น ในการแยกพอตต้นอ่อนแคคตัส ผมจะไม่ได้เอาอายุของต้นอ่อนมาเป็นตัวกำหนดนะครับ แต่สิ่งที่เป็นตัวกำหนดว่าต้นแคคตัสของเรานั้นพร้อมที่จะย้ายพอตได้รึยัง ผมดูที่ขนาดของต้นเป็นหลัก
เพราะการเจริญเติบโตของต้นอ่อนแคคตัสนั้น ไม่สามารถระบุแน่นอนได้ว่าอายุเท่าไรจะโตได้ขนาดไหน บางพอตอายุ 4-5 เดือนก็โตพอที่จะแยกได้ แต่บางพอตก็โตช้า อายุ 7-8 เดือนต้นก็ยังไม่โตสักเท่าไร และแม้แต่ในพอตเดียวกัน แต่ละต้นก็ยังโตช้าเร็วไม่เท่ากัน บางต้นโตไวกว่าเพื่อน แต่บางต้นก็โตไม่ทันต้นอื่น ( อาจเพราะวิธีการเลี้ยงของผมยังไม่ดีพอก็ได้มั้ง การเจริญเติบโตของไม้ที่ผมเลี้ยงถึงได้ไม่นิ่งเท่าไร ) เพราะฉะนั้นผมจึงไม่เอาเรื่องเวลามาเป็นตัวกำหนด แต่จะมองที่ขนาดของต้นและความแออัดของพอตเป็นหลัก ยกเว้นในกรณีที่ว่า ต้นยังไม่โตแต่ดันเกิดปัญหาเฉพาะหน้าขึ้นมา อย่างเช่นกระถางล้มคว่ำจนต้นแคคตัสนั้นหลุดออกมาจากกระถาง หรือเกิดปัญหาโรคเน่า โรครา หรือโดนแมลงเข้าโจมตี อะไรแบบนี้ถึงจะเป็นกรณีพิเศษที่ทำให้ต้องแยกพอตเพื่อรักษา แต่ถ้าเค้าปรกติดีไม่ได้มีปัญหาอะไรมารบกวน ผมก็จะดูที่ขนาดของต้นก่อนเลยครับว่าโตพอที่จะแยกได้หรือไม่
ซึ่งขนาดของต้นอ่อนที่ผมคิดว่าโตพอที่จะแยกได้แล้วนั้นก็คือตั้งแต่ 1 ซม. ขึ้นไปครับ หรือไม่ผมก็จะดูที่ภาพรวมของพอต ถ้าเห็นว่าต้นอ่อนในพอตนั้นโตจนแน่น เบียดกันจนล้นกระถาง ตัวอย่างตามรูปด้านล่างครับ
เติบโตจนเบียดเสียดกันขนาดนี้ ก็น่าจะได้เวลาแล้วล่ะนะ เพราะมันแน่นจนล้นไปหมดแล้ว
แต่บางที ในกรณีที่ต้นอ่อนแคคตัสที่เราเพาะไว้นั้นยังไม่โตเท่าไร จะเลี้ยงต่อไปอีกสักระยะแล้วค่อยแยกพอตก็ยังได้
แต่ดันเกิดปัญหาแทรกซ้อนขึ้นมา อย่างในรูปด้านล่าง
ตรงจุดที่ผมใส่ลูกศรชี้เอาไว้ จะเห็นว่าแคคตัสตรงส่วนนั้นมีอาการเน่าตายหลายต้นเลยล่ะครับ ซึ่งถ้าเกิดเหตุการณ์อะไรแบบนี้ขึ้นล่ะก็
ยังไงมันก็จำเป็นต้องแยก เพราะอาการเน่ามันมันได้ลามไปสู้ต้นข้างเคียงด้วย ซึ่งถ้าไม่แยกต้นอื่นๆ ในพอตออกมาล่ะก็ มันจะตายตามกันไปจนหมดแน่นอนครับ
ซึ่งในการแยกต้นอ่อนที่มีขนาดเล็กมากๆ นั้น ด้วยความที่ต้นอ่อนที่มีขนาดเล็กมากๆ จะค่อนข้างอ่อนแอ มันก็มีโอกาสที่จะตายได้ง่ายกว่าการแยกพวกต้นใหญ่ๆ เพราะงั้นในการแยกพอตก็ต้องเผื่อใจเอาไว้ให้กับความล้มเหลวด้วยนะครับ แต่ก็ไม่ใช่ว่ามันจะแย่ไปเสียทุกครั้งหรอกนะ เพราะโอกาสที่เค้าจะรอดมันก็มีไม่น้อย อย่างตัวผมเองก็มีหลายครั้งเลยครับ ที่ต้องแยกพอตต้นอ่อนที่มันเล็กมากๆ แต่ก็ผ่านมาได้แบบสบายๆ ต้นอ่อนเจริญเติบโตได้อย่างไรปัญหา เพราะงั้นไม่ต้องไปคิดมากนะครับ อาจจะสำเร็จก็เป็นได้
ซึ่งในการแยกต้นอ่อนที่มีขนาดเล็กมากๆ นั้น ด้วยความที่ต้นอ่อนที่มีขนาดเล็กมากๆ จะค่อนข้างอ่อนแอ มันก็มีโอกาสที่จะตายได้ง่ายกว่าการแยกพวกต้นใหญ่ๆ เพราะงั้นในการแยกพอตก็ต้องเผื่อใจเอาไว้ให้กับความล้มเหลวด้วยนะครับ แต่ก็ไม่ใช่ว่ามันจะแย่ไปเสียทุกครั้งหรอกนะ เพราะโอกาสที่เค้าจะรอดมันก็มีไม่น้อย อย่างตัวผมเองก็มีหลายครั้งเลยครับ ที่ต้องแยกพอตต้นอ่อนที่มันเล็กมากๆ แต่ก็ผ่านมาได้แบบสบายๆ ต้นอ่อนเจริญเติบโตได้อย่างไรปัญหา เพราะงั้นไม่ต้องไปคิดมากนะครับ อาจจะสำเร็จก็เป็นได้
เกริ่นมาซะยาว เอาเป็นว่าเราไปเริ่มการแยกพอตกันเลยดีกว่าครับ
------------------------------------------------------------------------------------------------
สำหรับวิธีการในการแยกพอตแคคตัสนั้น
เพื่อความหลากหลาย ผมขอนำเสนอ 2 วิธีด้วยกัน ซึ่งทั้ง 2 วิธีที่นั้น เป็นวิธีการที่ผมเคยทำมาหลายครั้ง
และก็รู้สึกโอเคกับทั้ง 2 วิธี เลือกไม่ได้ว่าแบบไหนมันดีกว่ากัน เพราะฉะนั้นผมจะไม่ฟันธงนะว่าแบบไหนมันดีที่สุด
เพราะมันแล้วแต่ความชอบส่วนตัวของแต่ละคนด้วย เราอาจจะมองต่างกันก็ได้
ผมอยากให้ท่านดูทั้ง 2 วิธี แล้วเลือกเอาเลยครับว่าท่านชอบแบบไหน ผมแค่มานำเสนอเท่านั้น
เริ่มด้วยวิธีการแรก นั่นก็คือการถอนไปจิ้มทีละต้น
ขั้นตอนก็ไม่มีอะไรมาก อธิบายแบบง่ายๆ เลยก็คือการ ถอนหรือดึงขึ้นมาทีละต้น
หรือจะเทหมดทั้งกระถางแล้วแยกออกเป็นต้นๆ แล้วเอาไปจิ้มลงในกระถางใหม่ที่เราเตรียมเอาไว้นั้นเองครับ
โดยเจ้าแคคตัสที่เราจะใช้เป็นตัวอย่างในการแยกพอตนั้นก็
ตามรูปที่เห็นนี้เลยครับ เป็นแคคตัสแอสโต แอสทีเรียส ( astrophytum asterias ) ครับ
จริงๆ พอตนี้ต้นก็ยังเล็กอยู่นะ จะเลี้ยงต่อไปแบบนี้อีกสักเดือน สองเดือนก็ยังได้
แต่ที่ผมตัดสินใจแยก เพราะผมจะดึงต้นด่างออกมากราฟบนตอ ก็เลยเห็นว่า ไหนๆ
จะทำแล้วก็ย้ายพอตต้นที่มันไม่ด่างไปปลูกในกระถางใหม่ด้วยเลยก็แล้วกัน
เพราะงั้นในภาพต่อๆ ไป เจ้าต้นด่างชมพู จะหายไปนะครับ เพราะโดนแยกไปกราฟ เราจะเอาแค่ต้นเขียวๆ
ไปลงกระถางใหม่เท่านั้น
ก่อนจะเริ่มการย้ายต้นอ่อน เรามาเตรียมดินปลูกที่จะใช้ในการเลี้ยงเจ้าแคคตัสน้อยๆ
เหล่านี้กันดีกว่าครับ
สำหรับดินปลูกแคคตัสที่ผมใช้นั้น เป็นดินที่ผมผสมตามความชอบส่วนตัว
ซึ่งสูตรดินที่ผมใช้ก็จะมีส่วนผสมดังนี้
ดินใบก้ามปูร่อนเอาแต่เนื้อดินกับส่วนของใบที่ละเอียด
พวกที่เป็นก้อนใหญ่ๆ เราไม่เอาครับ เอาแต่เนื้อๆ ร่วนๆ
แต่ถ้าไม่มีดินใบก้ามปูจะใช้เป็นดินแคคตัสก็ได้ครับ
จากนั้นก็เอาดินที่ได้ไปผสมกับหินภูเขาไฟก้อนเล็กสุด ( เบอร์ 00 )
และเพอร์ไลท์ ในอัตราส่วนผสมที่พอๆ กัน ไม่ได้กำหนดแน่ชัดว่าอันไหนใช้กี่ส่วนหรือน้ำหนักเท่าไร
ตอนที่ผสมผมจะกะเอาด้วยความรู้สึกน่ะครับ
ผสมให้เรารู้สึกว่าดินมันร่วนละเอียดดูแล้วรู้สึกว่าดินมันโปร่งไม่จับตัวเป็นปึกก็น่าจะโอเค
ประมาณนี้ครับสำหรับสูตรดินปลูกของผม
แต่ถ้าท่านไม่อยากผสมดินเอง
ไม่สะดวกหรืออาจจะหาซื้อพวกหินภูเขาไฟหรือเพอร์ไลท์ไม่ได้ล่ะก็ เอาแบบง่ายๆ เลยก็
ซื้อดินแคคตัสที่ขายกันตามร้านขายแคคตัสมาใช้ก็ได้ครับ ดินแคคตัสที่บางร้านเค้าทำขายนั้น
เค้าผสมมาพร้อมใช้อยู่แล้วล่ะครับ
ก่อนลงมือ เรามาเลือกกระถางกันก่อนดีกว่า ในกรณีที่ต้นอ่อนแคคตัสที่เราจะปลูกนั้นมีจำนวนไม่เยอะ ผมจะใช้เป็นกระถางเล็กๆ อย่างเช่นครั้งนี้ ไม้มีแค่ไม่กี่ต้น แถมต้นยังเล็กมากๆ เพราะงั้นผมจะใช้เป็นกระถาง 2.5 นิ้ว ก็น่าจะพอ
แต่ถ้าเป็นในกรณีที่ต้องปลูกไม้ในปริมาณมากๆ หลายสิบต้น บางท่านก็อาจจะใช้เป็นกระถางใหญ่ๆ หรือใช้เป็นกระบะ อันนี้ก็แล้วแต่จะเลือกเลยครับ ตามความชอบเลย
เริ่มเลยดีกว่า ตักดินปลูกใส่กระถางสักครึ่งกระถางหรือไม่ก็เกินครึ่งกระถางมาหน่อยนึงก็ได้
แต่ถ้าเป็นในกรณีที่ต้องปลูกไม้ในปริมาณมากๆ หลายสิบต้น บางท่านก็อาจจะใช้เป็นกระถางใหญ่ๆ หรือใช้เป็นกระบะ อันนี้ก็แล้วแต่จะเลือกเลยครับ ตามความชอบเลย
เริ่มเลยดีกว่า ตักดินปลูกใส่กระถางสักครึ่งกระถางหรือไม่ก็เกินครึ่งกระถางมาหน่อยนึงก็ได้
จากนั้นก็ใส่ปุ๋ยละลายช้า ( ออสโมโค้ท ) สัก 10 เม็ดก็ได้ครับ พอดีในรูปผมหนักมือไปหน่อยครับ เทเยอะไปนิด
จากนั้นก็เติมดินลงไปจนเกือบเต็มกระถางเลยครับ
ต่อมาเราก็จะมาแยกต้นอ่อนแคคตัสเพื่อเอาไปลงปลูกในกระถางใหม่ที่เราเตรียมไว้กัน
และถ้าตอนที่เราดึงต้นแคคตัสขึ้นมานั้น
ถ้าเกิดว่าดินมันแน่น รู้สึกว่าดึงออกยาก หรือดึงแล้วรากขาดเยอะล่ะก็ เป็นไปได้ว่าดินอาจจะแน่นเกินไปหรือจับตัวเป็นปึก หรือไม่ก็อาจเพราะแคคตัสนั้นรากเยอะรากยาวพันกัน ซึ่งถ้าเป็นแบบนี้ก็ให้เราเอามือบีบรอบๆกระถางเพื่อให้ดินที่แน่นจับตัวเป็นปึกนั้นร่อนแตกตัว เมื่อดินแตกตัว
เราจะดึงต้นให้หลุดออกมาง่ายขึ้น โอกาสที่จะดึงแล้วต้นขาดรากขาดก็จะน้อยลงด้วยครับ
สำหรับท่านที่ไม่มี ฟอร์เซป (forceps) ก็ไม่ต้องใช้ก็ได้ครับ เรื่องของอุปกรณ์บางทีมันก็ไม่ได้จำเป็นอะไรขนาดนั้น
เราประยุกต์วิธีการตามความเหมาะสมดีกว่าครับ เพราะถ้าเราบีบรอบๆ
กระถางจนดินมันร่วนแตกตัวแล้วล่ะก็ เอานิ้วของเราจับแล้วดึงมันก็ดึงออกนะ แต่ถ้าไม่ออกก็เอาไม้เสียบลูกชิ้นมาช่วยเขี่ยก็ได้ครับ
แต่ถ้าไม่ออกอีกจะเททั้งกระถางแล้วค่อยๆ นั่งแกะทีละต้นเลยก็ยังได้
เมื่อเราถอนต้นแคคตัสขึ้นมาแล้ว ถ้าเกิดว่าดินมันติดขึ้นมาเยอะ
หรือหลุดมาเป็นก้อนเป็นแพใหญ่ๆ ล่ะก็ ผมจะใช้พู่กันปัดๆ ดินออกไป
หรือไม่ก็ใช้นิ้วรูดดินออก จะไม่ให้ดินเก่าติดมามากนัก เอาให้เหลือแต่ต้นเปล่าๆ
เลยก็ได้ครับ
จากนั้นก็จะเอาต้นแคคตัสที่ได้ไปจิ้มลงในกระถางดินที่เตรียมไว้เลยทันที
ก็ค่อยๆ จิ้ม ลงปลูกกันไปทีละต้น
เรียบร้อย ครบหมดทุกต้นแล้วครับ
จากนั้นผมก็จะมาโรยหินเพื่อประคองต้นอ่อนครับ เพราะในความรู้สึกของผม พวกไม้ที่ลงปลูกใหม่ๆ
รากมันจะยังไม่ยึดเกาะกับดิน เวลาที่เรารดน้ำ บางทีก็อาจจะเกิดปัญหาต้นเอนล้มหรือไม่รดน้ำแล้วดินกระจายเลอะเทอะขึ้นได้
การโรยหินลงไปที่หน้าดินจะเป็นการช่วยประคองไม่ให้ต้นแคคตัสนั้นล้มและเวลารดน้ำดินก็จะไม่กระจายเลอะเทอะด้วยครับ
จริงๆ เรื่องของการโรยหิน มันก็ไม่ได้จำเป็นถึงขนาดที่ว่าไม่ทำไม่ได้นะครับ เพราะหลายท่านเวลาที่ปลูกแคคตัสก็ไม่ได้โรยหิน ซึ่งก็ไม่มีปัญหาอะไร ไม้ก็เติบโตได้เป็นปรกติดี เพราะงั้นก็แล้วแต่เลยครับ
จริงๆ เรื่องของการโรยหิน มันก็ไม่ได้จำเป็นถึงขนาดที่ว่าไม่ทำไม่ได้นะครับ เพราะหลายท่านเวลาที่ปลูกแคคตัสก็ไม่ได้โรยหิน ซึ่งก็ไม่มีปัญหาอะไร ไม้ก็เติบโตได้เป็นปรกติดี เพราะงั้นก็แล้วแต่เลยครับ
เมื่อเสร็จสรรพเรียบร้อย
ต่อไปเราก็จะมาว่ากันในเรื่องของการดูแลเจ้าแคคตัสน้อยๆ เหล่านี้กันครับ
คำถามแรกที่หลายท่านอาจจะสงสัย
คือหลังจากที่เราปลูกเรียบร้อยแล้ว จะต้องรดน้ำเลยมั้ย
สำหรับผมจะยังไม่รดน้ำเลยทันทีนะครับ
คือบางท่านก็อาจจะรดน้ำเลย บางท่านใช้เป็นรดน้ำที่ผสมยากันรา
หรือจะอะไรยังไงก็แล้วแต่เทคนิคของแต่ละท่าน แต่สำหรับตัวผมนั้น หลังจากที่ลงปลูกจะยังไม่รดน้ำ
นั่นก็เพราะในความรู้สึกของผม ไม้ที่พึ่งถอนขึ้นมาสดๆ
บางทีรากก็อาจจะมีขาดมีเสียหายทำให้เกิดเป็นแผลขึ้นมาได้
ซึ่งถ้าลงปลูกไปแล้วรดน้ำเลยทันที
ผมคิดว่ามันมีโอกาสที่จะติดเชื้อเข้าที่แผลทำให้เกิดความเสี่ยงที่ไม้จะรากเน่า
ต้นเน่าตายเอาได้ เพราะฉะนั้นผมจึงจะยังไม่รดน้ำทันที
แต่จะยกกระถางไปเก็บเอาไว้ในที่ร่มรำไร ให้โดนแค่แดดอ่อนๆ เท่านั้น
ห้ามโดนแดดจัดอย่างเด็ดขาด และก็ห้ามไม่ให้โดนฝนสาด ผมจะทิ้งเอาไว้สัก 4-5 วัน
แผลก็น่าจะแห้ง แล้วถึงค่อยรดน้ำครั้งแรกครับ
ซึ่งในส่วนของการรดน้ำนั้น ผมมีหลักการแค่ว่า
รดน้ำต่อเมื่อดินแห้ง ถ้าเห็นว่าดินยังชื้นยังแฉะก็ผ่านไป ยังไม่ต้องรด
ส่วนปริมาณการรดน้ำมากน้อยขนาดไหน
ผมขอตอบว่าเวลารดน้ำผมจะรดจนเห็นน้ำไหลทางออกก้นกระถางก็จะพอครับ
ในเรื่องของสภาพอากาศ แสงแดดเป็นส่วนสำคัญในการกระตุ้นการเจริญเติบโตของแคคตัส
แต่ไม้เล็กๆ ที่พึ่งลงปลูกใหม่ๆ ถ้าโดนแดดแรงไป
แดดจัดอากาศร้อนเกินไปอาจทำให้เกิดปัญหาต้นเหี่ยวหรือไหม้แดดจนตายเอาได้ เพราะฉะนั้นควรให้เค้าได้รับแสงแดดอ่อนๆ ช่วงเช้าๆ อย่าให้เค้าชนกับแสงแดดแรงๆ ช่วงตั้งแต่ประมาณ 11 โมง ไปจนถึงบ่าย 2-3 เพราะเค้าจะทนความแรงของแดดไม่ไหวแล้วจะไหม้แดด แต่ถ้าเลี่ยงไม่ได้ก็ควรมีการพลางแสงด้วยแสลนเพื่อลดความแรงของแสงแดดลงมา ก็จะช่วยลดโอกาสเกิดปัญหาไหม้แดดได้เยอะเลยครับ
รอให้เค้าเจริญเติบโตตั้งตัวได้เมื่อไรก็ค่อยเพิ่มปริมาณแสงแดดที่ได้รับให้มากขึ้น
แต่ก็ควรต้องเลี้ยงใต้แสลนไปจนโตนั่นล่ะครับเพราะแดดบ้านเรานั้นแรงมาก
ขนาดไม้ต้นใหญ่ๆ บางทียังสู้แดดไม่ไหวจนต้นสุกตายเลยครับ
เพราะงั้นต้องระวังเรื่องนี้ด้วยนะครับ
ตัดมาดูภาพของไม้พอตนี้ตอนโตกันเลยดีกว่าครับ
ในภาพนี้คือประมาณ 3 เดือนกว่าๆ หลังจากที่เราได้ทำการย้ายพอต ซึ่งการเจริญเติบโตก็ค่อนข้างน่าพอใจ ไม่มีปัญหาที่หนักหนาอะไรมารบกวนครับ
การแยกพอตแบบที่สองนี้ จะเป็นการแยกพอตแบบล้างราก
ตัดแต่งรากครับ
สำหรับการแยกพอตล้างราก ตัดแต่งรากนั้น
ผมว่าเป็นวิธีการที่ดี เพราะการล้างราก ตัดแต่งราก
จะทำให้เราได้ตรวจสอบความสมบรูณ์ของไม้อย่างละเอียด
ว่าไม้ของเรานั้นมีแผลหรือมีโรคอะไรเกิดขึ้นกับเค้าบ้างหรือไม่
ถ้ามีเราก็จะได้รักษาได้เลยทันที และการตัดแต่งรากเก่า รากเสีย รากแห้งทิ้งไป
ให้เค้าสร้างระบบรากขึ้นมาสดๆ ใหม่ๆ ผมว่ามันก็เป็นเรื่องที่ดี เพราะรากใหม่ๆ สดๆ
ก็น่าจะมีศักยภาพในการหาอาหารได้ดีกว่ารากเก่าๆ
ผมคิดแบบนั้นครับ
แต่คือโดยปรกติ ผมจะล้างราก
ตัดแต่งรากกับไม้ที่มีขนาดโตพอสมควรแล้ว ( เกิน 1.5-2 ซม. ขึ้นไป ) ไม่ค่อยได้ทำกับไม้ที่มีขนาดเล็กมากๆ ( เล็กกว่า 1 ซม. ) เว้นเสียแต่ว่าในกรณีของไม้ที่มีขนาดเล็กมากๆ ที่กำลังเจอปัญหาเช่น
เป็นโรคเน่า โรคราสนิม หรือเจอเพลี้ยแป้งเกาะราก
หรือเป็นปัญหาอะไรก็ตามที่เราจำเป็นที่จะต้องจัดการอย่างเร่งด่วน ปล่อยไว้ไม่ได้อะไรแบบนั้น
ผมก็จะจับล้างรากเพื่อทำการรักษาโรคให้เค้าต่อไป
เพราะในขั้นตอนของการล้างตัดแต่งรากนั้น
เราจะต้องจับแคคตัสมาล้างดินออกให้เหลือแต่ต้นเปล่าๆ จากนั้นก็ตัดแต่งรากออกจนกุด
แล้ววางผึ่งเอาไว้ให้แผลแห้งอีกหลายวัน ถึงค่อยเอามาปลูกได้ ซึ่งถ้าถ้าเป็นแคคตัสที่โตในระดับนึงแล้ว
( 2ซม. ขึ้นไป ) มันไม่เป็นปัญหาหรอก พวกนี้อยู่ได้สบายๆ แต่ถ้าเราต้องทำแบบนี้กับต้นอ่อนแคคตัสที่มีขนาดเล็กมากๆ
มันก็เสี่ยงที่จะทำให้ต้นอ่อนนั้นตายได้
เพราะต้นอ่อนแคคตัสที่ยังอายุน้อยๆ ต้นยังเล็ก ความแข็งแรงมันก็ยังไม่มาก
ต้องมาวางผึ่งเอาไว้ต้นก็อาจจะเหี่ยว พอเอากลับไปลงปลูก
กว่าที่เค้าจะแทงรากใหม่ออกมามันก็กินเวลาอีกหลายวัน
ระหว่างนั้นต้นก็อาจจะเหี่ยวและขาดน้ำมากขึ้นเรื่อยๆ
จนตายไปก่อนที่จะออกรากหรือไม่ต้นก็อาจจะโทรมมากจนฟื้นตัวช้าก็เป็นได้
เพราะฉะนั้นการตัดแต่งรากจึงเป็นวิธีการที่ถ้าจะทำกับไม้เล็กๆ ก็ต้องเผื่อใจไว้ประมาณนึง แต่ถ้าเราทำแล้วสำเร็จ การตัดแต่งรากผ่านไปได้ด้วยดี
หลังจากที่ไม้เริ่มตั้งตัวได้เมื่อไร เค้าจะเจริญเติบโตแบบพุ่งพรวดมากๆ เลยล่ะครับ คือถ้าทำแล้วสำเร็จก็คุ้มค่าแน่นอนครับ
สำหรับตัวอย่างที่เราจะจับมาล้างรากให้ได้ดูกันนั้นก็ตามรูปเลยครับ
ไม้ชุดนี้ ถ้าพิจารณาในเรื่องของขนาดก็ยังไม่ต้องแยกพอตก็ได้ เพราะต้นยังเล็ก เลี้ยงให้ต้นโตกว่านี้แล้วค่อยแยกก็ได้ แต่พอดีว่าเกิดปัญหา มีต้นอ่อนในพอตเกิดมีอาการผิดปรกติ เหมือนว่าจะเป็นโรค ผมก็เลยต้องจับมาล้างรากเพื่อเช็คอย่างละเอียดว่ามีต้นที่มีปัญหากี่ต้น จะได้แยกต้นเหล่านั้นออกไปเพื่อรักษา แต่ถ้าเป็นมากก็ต้องทิ้งครับ
ไม้ชุดนี้ ถ้าพิจารณาในเรื่องของขนาดก็ยังไม่ต้องแยกพอตก็ได้ เพราะต้นยังเล็ก เลี้ยงให้ต้นโตกว่านี้แล้วค่อยแยกก็ได้ แต่พอดีว่าเกิดปัญหา มีต้นอ่อนในพอตเกิดมีอาการผิดปรกติ เหมือนว่าจะเป็นโรค ผมก็เลยต้องจับมาล้างรากเพื่อเช็คอย่างละเอียดว่ามีต้นที่มีปัญหากี่ต้น จะได้แยกต้นเหล่านั้นออกไปเพื่อรักษา แต่ถ้าเป็นมากก็ต้องทิ้งครับ
สำหรับอาการปรกติที่ว่านั้น
เดี๋ยวผมลงรูปให้ดูรูปนึงเพื่อเป็นตัวอย่างแล้วกัน
จากในรูป ต้นตามรูปที่มีลูกศรชี้
จะเห็นว่าเจ้าต้นนี้ตรงบริเวณโคนต้นมีแผล ผมลองส่องดูแล้วรู้สึกว่าน่าเป็นอาการเน่าคอดิน ซึ่งสาเหตุ คิดว่าน่าจะเกิดจากความชื้น ซึ่งการรักษาก็ต้องแยกต้นที่เป็นออกมาเพื่อที่จะได้ไม่ลุกลามไปติดต้นอื่น
แล้วจากนั้นก็ต้องจับทุกต้น ทั้งต้นที่เป็นละต้นที่รวมอยู่ในพอตเดียวกันแช่ยากันรากันเน่าครับ
อันนี้คือตัวอย่างอาการที่ทำให้ผมตัดสินใจต้องจับเทกระถางเพื่อล้างราก ซึ่งจริงๆ ในพอตมันมีต้นที่มีอาการมากกว่าที่เอามาให้ดู เป็นแบบนี้หลายต้นเลยล่ะ แต่ผมขอลงแค่รูปเดียวพอนะครับ บทความมันจะยาวเกินไปแล้ว
ปล. ไม้สองพอตนี้
ถ้าใครยังจำบทความเกี่ยวกับการเพาะเมล็ดแคคตัสได้ล่ะก็
เมล็ดที่ผมเพาะให้ได้ดูกันในบทความนั้นก็คือเจ้าสองพอตนี้นี่แหละครับ เค้าเติบโตมาอย่างที่เห็น
แต่ถ้าท่านยังไม่เคยอ่านบทความที่ว่านั่น ก็ลองไปอ่านกันได้ครับ
เป็นบทความเกี่ยวกับวิธีการเพาะเมล็ดแคคตัสแบบปิด
เรากลับมาที่การล้างราก ตัดแต่งรากกันต่อดีกว่า ผมจะจับเทกระถางแล้วนะครับ
จากนั้นก็จะล้างดินออกให้หมด ให้เหลือแค่ต้นเปล่าๆ
แบบนี้เลยครับ
ถ้าเราเจอต้นไหนที่มีปัญหาเป็นโรคก็ให้แยกออกมาต่างหาก
จากนั้นก็นำไปแช่ยากันรากันเน่า ซึ่งผมแช่หมดทุกต้น
ไม่ว่าจะเป็นต้นที่มีปัญหาหรือต้นที่ปรกติดีผมก็แช่หมดครับ โดยจะแยกเป็นสองชุด
ชุดที่มีปัญหากับชุดที่ปรกติดี ก็แยกจะกันแช่คนละชุดไป ไม่จับมาแช่รวมกัน ซึ่งยากันรากันเน่านั้นมีหลายยี่ห้อ
ก็แล้วแต่ท่านจะเลือกเลยครับ วิธีการใช้ยาก็อ่านดูตามคำแนะนำที่เขียนไว้ข้างขวดยานะครับ
หลักจากที่แช่ยากันรากันเน่าเรียบร้อยแล้ว
ขั้นตอนต่อมาก็คือการตัดแต่งราก โดยที่ผมจะตัดรากออกเกือบไม่เหลือเลยครับ เพราะเราต้องการที่จะให้เค้าสร้างระบบรากใหม่ทั้งระบบ
เพราะฉะนั้นก็เลยจะไม่เก็บรากเก่าเอาไว้มากนัก จะตัดออกให้เหลือนิดเดียวเท่านั้น ให้เค้าสร้างรากสดๆ ใหม่ๆ
ไปเลยทีเดียว
หลังจากที่ตัดแต่งรากเสร็จเรียบร้อยเราก็จะนำเค้าไปผึ่งไว้เพื่อรอให้แผลแห้ง
เพราะในความรู้สึกของผม ถ้าเอาไปปลูกและรดน้ำเลยทันทีโดยที่แผลที่เราตัดแต่งรากนั้นยังสดอยู่
มันมีโอกาสที่แผลจะติดเชื้อจนทำให้เจ้าแคคตัสเน่าตายได้
เพราะฉะนั้นผมจึงจะต้องให้เค้าแห้งๆ
ห้ามโดนน้ำไปจนกว่าจะมั่นใจว่าแผลที่ตัดแต่งรากไปนั้นแห้งสนิทแล้ว ถึงค่อยปลูก
ซึ่งการวางผึ่งเพื่อรอให้แผลแห้งนั้น ถ้าเป็นในกรณีของไม้ที่มีขนาดใหญ่ๆ
2 ซม. ขึ้นไป ผมจะวางผึ่งเอาไว้อย่างน้อย 1 สัปดาห์หรือมากกว่านั้น
แต่ถ้าเป็นในกรณีของไม้ที่เล็กมากๆ ไม่ถึง 1.5 ซม.
ระยะเวลาในการวางผึ่งเอาไว้ก็จะน้อยกว่านั้น อย่างไม้ชุดนี้ผมวางผึ่งเอาไว้ประมาณ 3-4 วันครับ แล้วจากนั้นก็จะนำมาลงปลูกตามปรกติ
*** จริงๆ มีอีกวิธีการนึงนะครับ นั่นก็คือเราสามารถเอาไม้ที่พึ่งตัดแต่งรากสดๆ
เอาไปลงปลูกเลยโดยที่ไม่ต้องวางผึ่งให้แผลแห้งก็ได้นะครับ แต่ตอนที่เราเอาไปลงปลูก
จะยังไม่ต้องรดน้ำ คือปลูกลงในดินแล้วก็วางไว้เฉยๆ ไปก่อน ไม่ต้องรดน้ำ
จนกว่าแผลจะแห้งถึงค่อยรดน้ำ ก็หลักเดียวกับการวางผึ่งเลยครับ ถ้าเป็นไม้ใหญ่เกิน
2-3 ซม. ขึ้นไป ก็วางเว้นการรดน้ำหลังจากลงปลูกไปก่อน 7 วัน ถ้าเป็นไม้ที่เล็กกว่า
1.5 ซม. ก็อย่างน้อย 4 วัน แล้วจึงค่อยรดน้ำครับ
การปลูก การดูแลก็เหมือนเดิมเลยครับ ตามที่เขียนไปในตอนแรกเลยครับ รายะเอียดต่างๆ นั้นเหมือนกัน
ก่อนจบบทความ เราไปดูพัฒนาการของไม้ชุดนี้กันสัก 3 ภาพก็แล้วกันนะครับว่าเค้าเติบโตสวยงามขนาดไหน
อันนี้เป็นภาพตอนที่เค้าเริ่มตั้งตัวได้แล้ว ต้นเริ่มขยับการเจริญเติบโต กำลังสดใสเลยครับ
วันเวลาผ่านไป พัฒนาการของแคคตัสน้อยก็ค่อยๆ เติบโตไปทีละขั้น
ก็ประมานนี้ครับ สำหรับเรื่องราวการแยกพอต ย้ายต้นอ่อนแคคตัส บทความนี้เป็นบทความที่ยาวมากๆ ใช้เวลาในการเขียนอยู่นานมากเลยล่ะครับ และจริงๆ เนื้อหามันมีมากกว่านี้อีกเยอะเลยด้วยครับ แต่ผมตัดออกไปเพราะว่าถ้าลงทั้งหมด มันจะเยอะเกินไป ยังไงก็ขอบคุณทุกท่านมากนะครับที่อ่านมาจนจบ หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ต่อท่านไม่มากก็น้อย
ขอให้สนุกกับการปลูกต้นไม้ แล้วพบกันใหม่นะครับ
เพจของเรา https://www.facebook.com/chowcactus
ก่อนจบบทความ เราไปดูพัฒนาการของไม้ชุดนี้กันสัก 3 ภาพก็แล้วกันนะครับว่าเค้าเติบโตสวยงามขนาดไหน
อันนี้เป็นภาพตอนที่เค้าเริ่มตั้งตัวได้แล้ว ต้นเริ่มขยับการเจริญเติบโต กำลังสดใสเลยครับ
วันเวลาผ่านไป พัฒนาการของแคคตัสน้อยก็ค่อยๆ เติบโตไปทีละขั้น
ก็ประมานนี้ครับ สำหรับเรื่องราวการแยกพอต ย้ายต้นอ่อนแคคตัส บทความนี้เป็นบทความที่ยาวมากๆ ใช้เวลาในการเขียนอยู่นานมากเลยล่ะครับ และจริงๆ เนื้อหามันมีมากกว่านี้อีกเยอะเลยด้วยครับ แต่ผมตัดออกไปเพราะว่าถ้าลงทั้งหมด มันจะเยอะเกินไป ยังไงก็ขอบคุณทุกท่านมากนะครับที่อ่านมาจนจบ หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ต่อท่านไม่มากก็น้อย
ขอให้สนุกกับการปลูกต้นไม้ แล้วพบกันใหม่นะครับ
เพจของเรา https://www.facebook.com/chowcactus
ทำไมยิมโนที่เพาะเมล็ดเป็นสีม่วงค่ะไม่เขียวเป็นครั้งแรกที่เพาะค่ะ
ReplyDeleteเพราะน้องเป็นยิมโนด่างรึป่าวคะ ยิมโนด่างบางต้นจะด่างตั้งแต่เด็กๆ บางต้นก็จะไปเริ่มด่างตอนโต
Deleteขอบคุณสำหรับบทความดีๆนะคะ อ่านแล้วได้ความรู้มากๆคะ ทำออกมาเรื่
ReplyDeleteอยๆนะคะ