Thursday, December 28, 2017

รับไม้ใหม่เข้าบ้าน การดูแลต้นแคคตัสที่เราพึ่งซื้อมาใหม่


                      เวลาที่ซื้อต้นกระบองเพชรมาใหม่ๆ แต่ละท่านก็จะมีวิธีการจัดการและการดูแลไม้ที่พึ่งได้มานั้น อาจจะต่างกันไป บางท่านอาจจะไม่ได้ทำอะไรเลย ได้มาแล้วก็เอามาเลี้ยงกันไปตามปรกติ บางท่านก็อาจจะมีการทำนั่นทำนี่บ้าง อย่างเปลี่ยนดินเปลี่ยนกระถาง หรืออะไรก็ว่ากันไป แล้วแต่รูปแบบการปลูกของแต่ละท่าน อย่างตัวผมเองนั้น ก็จะมีวิธีการในจัดการบางอย่างต่อไม้ที่พึ่งได้มาใหม่ๆ เช่นกัน ซึ่งก็คือเรื่องราวที่จะมาเขียนถึงในวันนี้นี่ล่ะครับ

                     แต่ก่อนอื่นเลยก็ต้องขอออกตัวไว้ก่อนเลยนะครับ ว่าสิ่งที่ผมเขียนนั้นจะเป็นวิธีการที่ดีที่สุดหรือไม่ ผมก็พูดไม่ได้นะครับ เพราะเรื่องการปลูกต้นไม้เป็นเรื่องที่ไม่ตายตัว แต่ละคนก็อาจจะมีรูปแบบการปลูกที่ต่างกันไป ขึ้นอยู่กับมุมมองของแต่ละคน อย่างตัวผม ผมมองว่ารูปแบบที่ผมใช้มันเหมาะกับตัวผม แต่คนอื่นก็อาจจะคิดไม่เหมือนกับผมก็ได้ เพราะฉะนั้น อยากให้คุณพิจารณาบทความนี้ว่ามันเป็นแค่เพียงแนวทางนึง และอยากให้ลองพิจารณาแนวทางของท่านอื่นๆ เพื่อประกอบการตัดสินใจด้วยก็จะดีกว่าครับ

Sunday, November 12, 2017

การตัดลงตอยิมโนด่าง และเรื่องราวการปลูก การดูแลไม้ที่พึ่งตัดลงตอ


                       สวัสดีครับ เรื่องราวในวันนี้เริ่มมาจาก มีเพื่อนท่านนึงได้มาสอบถามข้อสงสัยเกี่ยวกับต้นไม้ที่เค้าพึ่งไปซื้อมา เค้าเล่าว่า ได้ซื้อยิมโนด่างแดงดำมาต้นนึง ( ไม้กระถาง ) ซึ่งตอนที่เลือกซื้อนั้นเจ้าตัวไม่ได้มีการพูดคุยรายละเอียดของไม้ที่ซื้อกับคนขายแต่อย่างใด แค่มองภายนอกเห็นว่าเจ้าแคคตัสดูปรกติ ต้นดูแข็งแรงดี ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร ก็เลยตัดสินใจซื้อมา

                       หลังจากที่กลับมาถึงบ้าน เจ้าตัวอยากที่จะเปลี่ยนดินเปลี่ยนกระถางใหม่ให้กับเจ้าแคคตัส ก็เลยตัดสินใจเทกระถางเพื่อเตรียมจะเปลี่ยนดิน ซึ่งตอนที่เทกระถางออกมานั้น ตรงส่วนรากของเจ้ายิมโนด่างมันเป็นลักษณะคล้ายๆ อย่างในภาพด้านล่าง


                        ในภาพที่ลงไว้นี้ไม่ใช่ภาพของเพื่อนท่านนี้นะครับ แต่เป็นภาพต้นของผมเองครับ ผมขอใช้ภาพต้นของตัวเองเอามาลงก็แล้วกันนะครับ มันสื่อสารได้ง่ายกว่า

                        ก็คือลักษณะของรากเจ้ายิมโนด่างที่เค้าซื้อมานั้น มันเป็นแบบคล้ายๆ ในภาพนี้ ตรงส่วนที่น่าจะเป็นราก มีลักษณะเป็นแท่งแบบนี้ แล้วก็จะมีรากฝอยเส้นเล็กๆ แทงออกมาจากแกนนี้อีกต่อนึง ซึ่งเค้าไม่เคยเลี้ยงไม้แบบนี้มาก่อนเลย เค้าก็เลยมาถามผมว่าแบบนี้มันคือยังไง อยากให้ผมอธิบายไม้ลักษณะนี้ให้ฟังหน่อย แล้วก็อยากรู้ว่าไม้แบบนี้มันโอเคมั้ย จะเลี้ยงต่อไปยังไงดี เลี้ยงยากหรือไม่ อะไรประมาณนั้น

Sunday, August 13, 2017

เมื่อเจ้ายิมโนหัวสี ( ไม้กราฟตอแก้วมังกร ) เกิดปัญหาเน่า การสังเกต ประเมินอาการ และแนวทางการรักษา


                      สวัสดีครับ เรื่องราวในคราวนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับเจ้าไม้กราฟ ยิมโนหัวสีต่อตอแก้วมังกรที่เจอปัญหา บางต้นตอเน่า บางต้นตอไม่เน่าแต่เป็นหัวสีที่เน่า บางต้นเน่าทั้งหัวสีเน่าทั้งตอ ซึ่งเราก็จะมาดูอาการกันว่า อาการแบบไหนคือหนัก แบบไหนพอจะรักษาได้ และแนวทางการรักษาที่ผมใช้นั้น มันมีวิธีการอย่างไรบ้าง

                      แต่ก่อนจะเริ่มบทความผมต้องขอบอกกันก่อนเลยนะครับ ว่าผมก็ไม่ได้มีความรู้ในการรักษากระบองเพชรป่วยมากมายอะไรหรอกนะครับ เพราะงั้นบทความนี้อาจจะไม่ได้มีเนื้อหาที่เจาะลึกเกี่ยวกับโรคพืชอย่างละเอียดนะครับ เป็นเพียงแค่การมาบอกเล่าเรื่องราวและเอารูปมาให้ได้ดูกันว่าเวลาแคคตัสของผมป่วย ผมจัดการกับมันยังไง ยังไงถ้าอ่านบทความนี้จบแล้ว อยากให้ลองหาข้อมูลเพิ่มเติมจากแหล่งอื่นเพื่อประกอบการตัดสินใจด้วยนะครับ เพราะบทความนี้เป็นแค่การแชร์ประสบการณ์ส่วนตัวของคนๆ เดียวเท่านั้น ซึ่งอาจมีสิ่งใดที่ผมได้เขียนพลาดไป หรือสื่อสารได้ไม่ครบถ้วนก็เป็นได้นะครับ


ก่อนจะไปเริ่มการรักษา เราก็ต้องมาว่ากันในเรื่องของสาเหตุและปัจจัยที่จะทำให้ไม้กราฟของเรานั้นเน่ากันก่อนดีกว่า

Friday, June 9, 2017

การแยกพอต ย้ายกระถางต้นอ่อนแคคตัส และการดูแลแคคตัสที่พึ่งลงปลูกใหม่ๆ


                     เมื่อเมล็ดแคคตัสที่เราได้เพาะเอาไว้ เริ่มงอกและเจริญเติบโตไปจนถึงระดับนึง ก็ถึงเวลาที่เราจะต้องมาจับเค้าย้ายกระถาง เปลี่ยนดิน เพื่อให้เค้าได้แยกย้ายกันไปเจริญเติบโตตามเส้นทางของแต่ละต้น
 
                     แล้วไอ้ที่ว่าเติบโตจนถึงระดับนึงนั้น มันต้องเติบโตขนาดไหน ต้นอ่อนต้องมีอายุกี่เดือนถึงจะแยกได้ และขั้นตอนในการแยกพอตนั้นมีวิธีการอย่างไรบ้าง และพอแยกเสร็จแล้วจะต้องดูแลต่อไปยังไง  คำถามเหล่านี้เป็นคำถามที่หลายท่านคงสงสัย

                     ซึ่งสำหรับตัวผมนั้น ในการแยกพอตต้นอ่อนแคคตัส ผมจะไม่ได้เอาอายุของต้นอ่อนมาเป็นตัวกำหนดนะครับ แต่สิ่งที่เป็นตัวกำหนดว่าต้นแคคตัสของเรานั้นพร้อมที่จะย้ายพอตได้รึยัง ผมดูที่ขนาดของต้นเป็นหลัก


                       เพราะการเจริญเติบโตของต้นอ่อนแคคตัสนั้น ไม่สามารถระบุแน่นอนได้ว่าอายุเท่าไรจะโตได้ขนาดไหน บางพอตอายุ 4-5 เดือนก็โตพอที่จะแยกได้ แต่บางพอตก็โตช้า อายุ 7-8 เดือนต้นก็ยังไม่โตสักเท่าไร และแม้แต่ในพอตเดียวกัน แต่ละต้นก็ยังโตช้าเร็วไม่เท่ากัน บางต้นโตไวกว่าเพื่อน แต่บางต้นก็โตไม่ทันต้นอื่น ( อาจเพราะวิธีการเลี้ยงของผมยังไม่ดีพอก็ได้มั้ง การเจริญเติบโตของไม้ที่ผมเลี้ยงถึงได้ไม่นิ่งเท่าไร ) เพราะฉะนั้นผมจึงไม่เอาเรื่องเวลามาเป็นตัวกำหนด แต่จะมองที่ขนาดของต้นและความแออัดของพอตเป็นหลัก ยกเว้นในกรณีที่ว่า ต้นยังไม่โตแต่ดันเกิดปัญหาเฉพาะหน้าขึ้นมา อย่างเช่นกระถางล้มคว่ำจนต้นแคคตัสนั้นหลุดออกมาจากกระถาง หรือเกิดปัญหาโรคเน่า โรครา หรือโดนแมลงเข้าโจมตี อะไรแบบนี้ถึงจะเป็นกรณีพิเศษที่ทำให้ต้องแยกพอตเพื่อรักษา แต่ถ้าเค้าปรกติดีไม่ได้มีปัญหาอะไรมารบกวน ผมก็จะดูที่ขนาดของต้นก่อนเลยครับว่าโตพอที่จะแยกได้หรือไม่

                      ซึ่งขนาดของต้นอ่อนที่ผมคิดว่าโตพอที่จะแยกได้แล้วนั้นก็คือตั้งแต่ 1 ซม. ขึ้นไปครับ หรือไม่ผมก็จะดูที่ภาพรวมของพอต ถ้าเห็นว่าต้นอ่อนในพอตนั้นโตจนแน่น เบียดกันจนล้นกระถาง ตัวอย่างตามรูปด้านล่างครับ


เติบโตจนเบียดเสียดกันขนาดนี้ ก็น่าจะได้เวลาแล้วล่ะนะ เพราะมันแน่นจนล้นไปหมดแล้ว

                       แต่บางที ในกรณีที่ต้นอ่อนแคคตัสที่เราเพาะไว้นั้นยังไม่โตเท่าไร จะเลี้ยงต่อไปอีกสักระยะแล้วค่อยแยกพอตก็ยังได้ แต่ดันเกิดปัญหาแทรกซ้อนขึ้นมา อย่างในรูปด้านล่าง


                       ตรงจุดที่ผมใส่ลูกศรชี้เอาไว้ จะเห็นว่าแคคตัสตรงส่วนนั้นมีอาการเน่าตายหลายต้นเลยล่ะครับ ซึ่งถ้าเกิดเหตุการณ์อะไรแบบนี้ขึ้นล่ะก็ ยังไงมันก็จำเป็นต้องแยก เพราะอาการเน่ามันมันได้ลามไปสู้ต้นข้างเคียงด้วย ซึ่งถ้าไม่แยกต้นอื่นๆ ในพอตออกมาล่ะก็ มันจะตายตามกันไปจนหมดแน่นอนครับ

                       ซึ่งในการแยกต้นอ่อนที่มีขนาดเล็กมากๆ นั้น ด้วยความที่ต้นอ่อนที่มีขนาดเล็กมากๆ จะค่อนข้างอ่อนแอ มันก็มีโอกาสที่จะตายได้ง่ายกว่าการแยกพวกต้นใหญ่ๆ เพราะงั้นในการแยกพอตก็ต้องเผื่อใจเอาไว้ให้กับความล้มเหลวด้วยนะครับ แต่ก็ไม่ใช่ว่ามันจะแย่ไปเสียทุกครั้งหรอกนะ เพราะโอกาสที่เค้าจะรอดมันก็มีไม่น้อย อย่างตัวผมเองก็มีหลายครั้งเลยครับ ที่ต้องแยกพอตต้นอ่อนที่มันเล็กมากๆ แต่ก็ผ่านมาได้แบบสบายๆ ต้นอ่อนเจริญเติบโตได้อย่างไรปัญหา เพราะงั้นไม่ต้องไปคิดมากนะครับ อาจจะสำเร็จก็เป็นได้

เกริ่นมาซะยาว เอาเป็นว่าเราไปเริ่มการแยกพอตกันเลยดีกว่าครับ
------------------------------------------------------------------------------------------------

                       สำหรับวิธีการในการแยกพอตแคคตัสนั้น เพื่อความหลากหลาย ผมขอนำเสนอ 2 วิธีด้วยกัน ซึ่งทั้ง 2 วิธีที่นั้น เป็นวิธีการที่ผมเคยทำมาหลายครั้ง และก็รู้สึกโอเคกับทั้ง 2 วิธี เลือกไม่ได้ว่าแบบไหนมันดีกว่ากัน เพราะฉะนั้นผมจะไม่ฟันธงนะว่าแบบไหนมันดีที่สุด เพราะมันแล้วแต่ความชอบส่วนตัวของแต่ละคนด้วย เราอาจจะมองต่างกันก็ได้ ผมอยากให้ท่านดูทั้ง 2 วิธี แล้วเลือกเอาเลยครับว่าท่านชอบแบบไหน ผมแค่มานำเสนอเท่านั้น

Tuesday, April 11, 2017

การขยายพันธุ์ฮาโวเทีย ( Haworthia ) ด้วยการแยกหน่อ ชำหน่อ


                     สวัสดีครับ บทความในคราวนี้จะเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับการขยายพันธุ์ฮาโวเทีย ( Haworthia ) ด้วยการแยกหน่อ ชำหน่อ ซึ่งวิธีการที่ผมใช้นั้นก็ง่ายๆ เอาเป็นว่าไม่ขอเกริ่นอะไรมากมาย เราเริ่มกันเลยก็แล้วกัน


                      สำหรับต้นฮาโวเทียที่เราจะจับมาแยกหน่อกันในวันนี้นั้น เพื่อความหลากหลาย ผมก็เลยจะใช้ต้นตัวอย่างในการชำหน่อทั้งหมด 3 ต้น 3 สายพันธุ์ที่ต่างกันไป ก็ตามภาพนี้เลยครับ เจ้าพวกนี้คือต้นที่เราจะแยกหน่อมาชำกันในคราวนี้

เรามาลงมือแยกหน่อกันเลยดีกว่าครับ

Sunday, March 19, 2017

Echinopsis subdenudata อิชินอปซิส ดอกสีขาวแสนสดใส


                       สวัสดีครับ วันนี้ผมมีภาพและเรื่องราวของเจ้าแคคตัสอิชินอปซิส ดอกสีขาวแสนสวย ( Echinopsis subdenudata ) มาฝากให้ได้ชมกัน ภาพชุดนี้ผมถ่ายเก็บเอาไว้สักพักใหญ่ๆ แล้ว แต่พึ่งจะว่างเอามาลงนี่แหละ เอาเป็นว่าเราเริ่มเรื่องราวของเจ้ากระบองเพชรต้นนี้กันเลยดีกว่าครับ


                        เจ้าอิชินอปซิสต้นนี้ผมเลี้ยงมาหลายปีแล้วครับ จำได้ว่าตอนที่ได้มาใหม่ๆ นั้น ต้นยังเล็กมาก ประมาณ 3 ซม. ผมซื้อมาจากร้านขายกระบองเพชรแถวๆ บ้าน ราคาในตอนนั้น ต้นละไม่กี่สิบบาทเองครับ ก็ถือเป็นไม้ราคาสบายๆ ซื้อได้แบบไม่ต้องคิดอะไรมาก

                       แต่ตอนนั้นก็ต้องบอกว่าผมยังไม่ค่อยทราบข้อมูลในการปลูกเลี้ยงแคคตัสสายพันธุ์นี้สักเท่าไร เลี้ยงยากหรือง่ายก็ไม่แน่ใจ เพราะตอนนั้นผมยังมือใหม่มากๆ ยังไม่ค่อยมีความรู้เกี่ยวกับแคคตัสสายพันธุ์นี้ เคยเห็นมาบ้าง แต่ยังไม่เคยลองปลูกจริงจัง แต่คือลักษณะต้นของเค้าดูน่าสนใจ ราคาก็ไม่แพง ก็เลยเอามาลองดูสักต้นนึงแล้วกัน เผื่อจะเลี้ยงง่าย แต่ถ้าเลี้ยงยากหรือเลี้ยงแล้วตายก็ไม่เป็นไร ถือเป็นการเรียนรู้ก็แล้วกัน


                      ซึ่งหลังจากที่ได้ลองปลูก ได้มองดูพัฒนาการของเค้ามาตั้งแต่ตอนนั้นที่ยังเล็กๆ จนกระทั่งตอนนี้ที่เค้าเติบใหญ่มีดอกสวยงาม ผมว่าเค้าเป็นไม้ที่เลี้ยงง่าย แข็งแรง อดทนต่อสภาพอากาศได้ดีมาก แถมยังโตเร็วมากๆ อีกตางหาก และออกหน่อเก่งมากด้วยครับ

Friday, February 3, 2017

การตัดลงตอเปเรสเกีย


                      ในบทความที่แล้วเราได้นำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับการกราฟต้นอ่อนแคคตัสบนตอเปเรสเกียกันไปพอสมควร แต่ก็ยังไม่ครบถ้วน เพราะยังมีอีกเรื่องเกี่ยวกับไม้กราฟตอเปเรสเกียที่ผมยังอยากจะเขียน นั่นก็คือเรื่องราวของการตัดลงตอเปเรสเกีย มาในบทความนี้ก็เลยจะมาต่อกัน ว่าวิธีการตัดแคคตัสลงจากตอเปเรสเกียที่ผมใช้นั้นมีขั้นตอนอย่างไรบ้าง และหลังจากที่ตัดแคคตัสลงมาจากตอแล้วเราจะเลี้ยงดูกันยังไงต่อไป

ใครที่ยังไม่ได้อ่านบทความที่แล้วลองเข้าไปอ่านดูได้นะครับ ตามลิงก์ การกราฟต้นอ่อนแคคตัสบนตอเปเรสเกีย ( Pereskiopsis Graft )

                      สำหรับเจ้าแคคตัสที่เราจะมาตัดลงจากตอกันในคราวนี้ก็ตามรูปเลยครับ แต่ก่อนจะเริ่มวิธีการตัดลง ผมขอลงภาพเก่าๆ ของเจ้าต้นนี้สัก 3-4 ภาพ เพื่อย้อนความถึงพัฒนาการของเค้าก่อนนะครับ ว่าที่มาที่ไปของเค้านั้นเป็นยังไง 


เจ้าต้นนี้คือแคคตัสสายพันธ์ ( astrophytum myriostigma variegata ผมเรียกง่ายๆ ว่า มายริโอด่าง ก็แล้วกันนะครับ 

Friday, January 6, 2017

การกราฟต้นอ่อนแคคตัสบนตอเปเรสเกีย ( Pereskiopsis Graft )


                     เมื่อก่อนตอนที่ผมเริ่มสนใจเกี่ยวกับการผสมเกสรและการเพาะเมล็ดแคคตัสใหม่ๆ ผมชอบจับต้นอ่อนแคคตัสที่เพาะเมล็ดเอาไว้มากราฟต่อบนตอ เพราะด้วยความที่ในตอนนั้นอยากรู้เร็วๆ ว่าต้นพ่อพันธุ์ แม่พันธุ์ที่เราซื้อมานั้น เค้าจะให้ลูกที่มีหน้าตาแบบไหน แม่พันธุ์ต้นไหนให้ลูกสวยๆ บ้าง พ่อพันธุ์ต้นไหนจะส่งต่อลักษณะที่น่าสนใจไปสู่รุ่นลูกได้ดีบ้าง ซึ่งถ้าต้องรอดูจากการเลี้ยงในแบบปรกติ กว่าจะรู้คำตอบมันใช้เวลานานเป็นปี การจับต้นอ่อนขึ้นมากราฟเพื่อเร่งการเจริญเติบโตให้เร็วยิ่งขึ้น จึงเป็นทางเลือกที่ผมใช้ เพราะถ้าเรารู้ได้เร็วว่าพ่อแม่ต้นไหนที่ให้ลูกลักษณะดีๆ เราจะได้มีแนวทางในการผสมและพัฒนาสายพันธุ์ต่อไปได้อย่างต่อเนื่อง ผมคิดแบบนั้น

ต้นอ่อนยิมโนแคคตัส อายุไม่กี่เดือน

                     ซึ่งตอที่เหมาะสมกับการกราฟต้นอ่อนแคคตัสนั้น ด้วยความที่ต้นอ่อนของแคคตัสที่พึ่งจะงอกมาได้ไม่นาน ต้นอ่อนจึงยังมีขนาดที่เล็กมาก ถ้าจับไปต่อบนตอขนาดใหญ่ ขนาดของท่อน้ำเลี้ยงอาจจะไม่สัมพันธ์กัน เพราะฉะนั้นการเลือกตอที่จะนำมากราฟ ผมจึงเลือกใช้ตอที่มีขนาดเล็กเช่นเดียวกัน ซึ่งตอที่ผมเลือกมาใช้ในการกราฟต้นอ่อนแคคตัสอยู่บ่อยๆ นันก็คือตอเปเรสเกีย ( Pereskiopsis ) ครับ

ตอเปเรสเกีย ( Pereskiopsis )

                    สำหรับวิธีการกราฟต้นอ่อนแคคตัสบนตอเปเรสเกีย หรือบางท่านเรียกกันว่าการกราฟเมล็ดนั้น ขั้นตอนที่ผมใช้ก็ไม่ยากแต่ก็ไม่ง่าย เอาเป็นว่าไปดูกันเลยดีกว่าครับ