บทความในคราวนี้เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับการกราฟแคคตัสบนตอลูกผสม ( graft cactus ) ซึ่งวิธีการนั้นก็ไม่ยาก เอาเป็นว่าเราไปเริ่มกันเลยก็แล้วกันนะครับ
สำหรับอุปกรณ์ที่ใช้ในการกราฟนั้นก็เหมือนเดิมครับ มีเล็กๆ คมๆ สักเล่ม ผมใช้เป็นมีดบางๆ ธรรมดาราคาไม่แพง ซื้อมาจากตลาดนัดนี่แหละครับ ง่ายๆ แค่คมและเหมาะมือก็พอแล้วสำหรับผม
ส่วนอุปกรณ์อื่นๆ ก็มีแอลกอฮอล์กับสำลี
อันนี้เอาไว้ใช้สำหรับการเช็ดทำความสะอาดมีด เป็นการฆ่าเชื้อเพื่อความอุ่นใจ
แต่จริงๆ ไม่ต้องใช้ก็ได้ครับถ้าเรามั่นใจว่ามีดของเรานั้นสะอาดดีอยู่แล้ว
แต่ถ้าจะใช้ก็ง่ายๆ เอาสำลีจุ่มแอลกอฮอล์จากนั้นก็เช็ดที่ใบมีดของเรา
รอให้มีดแห้งแล้วก็ใช้กราฟได้เลยครับ
อันสุดท้ายก็คือสก็อตเทป เอาไว้ติดเพื่อยึดหัวแคคตัสกับตอเวลาต่อไปแล้วจะได้ไม่หลุดก่อนที่เนื้อแคคตัสกับตอจะประสานกัน
อันสุดท้ายก็คือสก็อตเทป เอาไว้ติดเพื่อยึดหัวแคคตัสกับตอเวลาต่อไปแล้วจะได้ไม่หลุดก่อนที่เนื้อแคคตัสกับตอจะประสานกัน
ผ่านจากเรื่องอุปกรณ์กันไปแล้วต่อมาเราก็มาดูที่ตอกันบ้างดีกว่า สำหรับตอที่ใช้ในคราวนี้เป็นตอลูกผสม รูปร่างหน้าตาก็ตามรูปเลยครับ
ตอชนิดนี้มีข้อดีตรงที่เค้าเป็นตอที่ต่อแล้วติดค่อนข้างง่าย ส่งหัวไม้ได้ดี เวลาที่ต่อกันติดไปแล้วหัวแคคตัสจะเจริญเติบโตได้ค่อนข้างจะไวเลยทีเดียวครับ และตอชนิดนี้นั้นก็เป็นตอที่ค่อนข้างจะทนตอสภาพอากาศได้ดีประมาณนึงเลยล่ะครับ
แต่ตอลูกผสมนั้นก็มีข้อเสียนะครับ คือเค้าเป็นไม้ที่พอเลี้ยงไปนานๆ จะชอบทำปมที่ราก และเวลาตอเกิดการทำปมที่รากแล้วล่ะก็ ไม้กราฟของเราจะเกิดอาการตอเหี่ยวซุบทำให้ต้องขุดขึ้นมาตัดแต่งรากแล้วลงปลูกใหม่ถึงจะฟื้น ถ้าไม่ขุดขึ้นมาตัดแต่งรากตอก็จะเหี่ยวไปเรื่อยๆ ทำให้แคคตัสไม่เจริญเติบโต ซึ่งเรื่องตอลูกผสมทำปมที่ราก หรือตอเหี่ยวเดี๋ยวผมจะเขียนถึงอาการและวิธีการแก้ไขเมื่อเจอปัญหานี้เอาไว้ตอนท้ายของบทความก็แล้วกันนะครับ
ผ่านจากเรื่องตอและอุปกรณณ์กันไปแล้วเราก็ไปเริ่มการกราฟกันเลยดีกว่าครับ
เริ่มแรกเรามาเริ่มปาดที่ยอดของตอลูกผสมก่อนเลยก็แล้วกันครับ
ผมปาดไม่ลึกเท่าไรนะครับมีดแรก ลงตรงปลายยอดไปก่อน เผื่อปาดเบี้ยวจะได้ตัดแต่งแก้ได้
ถ้าปาดลงลึกจนเกินไปถ้าเกิดพลาดมันจะแก้ยากเพราะยิ่งลึกแกนตอก็ยิ่งแข็งต่อติดยาก
เพราะงั้นผมลงมีดตรงตอนเริ่มต้นไปก่อนนี่แหละ ตามในรูปเลยครับหลังจากนั้นเราก็ทำการตัดแต่งขอบ
ตัดแต่งไปเพื่ออะไรหลายท่านอาจจะสงสัย เราตัดแต่งขอบก็เพื่อที่ว่าเผื่อเวลาต่อไปแล้วตอเกิดหด ตอยุบขึ้นมาแล้วมันจะเกิดปัญหาหัวแคคตัสไปชนกับขอบตอแล้วรอยต่อมันจะไม่สนิท เราจึงต้องปาดตรงขอบตอออกไป ต่อให้ตอยุบเนื้อตอหดจนหัวไม้ก็จะไม่ไปชนชอบตอจนหลุดนั่นเองครับ
อธิบายอาจจะงงไปสักหน่อยนะครับ ผมบรรยายภาพในหัวออกมาเป็นคำพูดไม่ถูกจริงๆ ไอ้เรื่องตอยุบตอหดเนี่ย เอาเป็นว่าเวลาเรากราฟแคคตัส ตอนที่เราปาดตอก็แต่งขอบด้วยนะครับ
พอเสร็จจากการปาดที่ตอไปแล้วเราก็มาต่อเนื่องทันทีกันที่หน่อแคคตัสที่เราจะเอาไปต่อกับตอเลยก็แล้วกัน
โดยหัวแคคตัสที่เราจะนำมาต่อในคราวนี้นั้นก็เป็นสายพันธุ์ยอดฮิตที่ทุกท่านน่าจะรู้จักกันเป็นอย่างดี อย่างเจ้า gymnocalycium variegata หรือยิมโนด่างนั่นเองครับ โดยหน่อที่ใช้นั้นเป็นหน่อที่มีขนาดประมาณ 1-2 ซม. ครับ
ไม่รอช้าผ่าเลยทันทีเลยดีกว่าครับเดี๋ยวตอที่ปาดไว้เมื่อกี้จะแห้ง ตามรูปเลยครับ
เวลาเราผ่าไปแล้วก็ดูด้วยนะครับว่ารอยผ่านั้นยุบหรือไม่
ถ้ามันยุบผิวที่ผ่าไม่เรียบเสมอกันให้ผ่าไปอีกรอบจนกว่าจะเห็นว่าผิวที่ผ่านั้นเรียบเสมอกัน
เพราะถ้าผิวที่ผ่ามันไม่เสมอกันแล้วล่ะก็เวลาต่อไปแล้วก็จะเกิดเป็นช่องว่าง
ทำให้ต่อติดไม่สนิทนั่นล่ะครับ
พอเราแน่ใจว่ารอยผ่านั้นเรียบดีแล้วก็ทำการประกบกับตอเลยทันทีครับ
เวลาประกบลงไปก็ดูท่อน้ำเลี้ยงให้ตรงกันจากนั้นก็วางลงไปเลยครับ
วางเสร็จก็หมุนเพื่อไล่อากาศสักหน่อย
จากนั้นก็เอาสก็อตเทปติดยึดระหว่างหัวแคคตัสกับตอเพื่อกันไม่ให้ไม้ที่เราต่อไว้นั้นหลุดออกจากกัน
เวลาเราติดสก็อตเทปถ้าเป็นหน่อแคคตัสเล็กๆ แล้วล่ะก็
อย่ากดน้ำหนักแรงมากนะครับมันจะทำให้หน่อแคคตัสช้ำเอาได้
แต่ถ้าเป็นหัวแคคตัสขนาดใหญ่เราจัดไปแน่นๆ ได้เลยครับ
สำหรับผมในคราวนี้ผมติดไม่แรงไม่ได้ลงนํ้าหนักมากเท่าไรเพราะหน่อที่ใช้กราฟนั้นเล็กกดแรงเดี๋ยวชํ้า
เสร็จสรรพเรียบร้อยเราก็นำเจ้าแคคตัสที่เรากราฟเสร็จแล้วไปวางไว้ในที่ที่สว่างมีแสงรำไร
อย่าให้โดนน้ำบริเวณรอยต่อเด็ดขาด จากนั้นเราไม่ต้องไปทำอะไรแล้วนะครับ
รออย่างเดียวแล้วตอนนี้ ทิ้งเอาไว้สัก 7 วันแล้วเราค่อยมาดูกันอีกทีว่าที่เราต่อไว้นั้นติดหรือไม่
ถ้าติดก็คือสำเร็จครับที่เราทำไป แต่ถ้าไม่ติดก็ค่อยว่ากันใหม่
หนึ่งอาทิตย์ผ่านไป เรามาแกะดูกันเลยดีกว่าว่ามันจะเป็นยังไง
รอยต่อจะสนิทดีหรือไม่
เวลาเราแกะสก็อตเทปก็เบามือสักหน่อยนะครับ ผมเคยมีประสบการณ์แบบว่าตอนแกะสก็อตเทปแล้วดึงแรงๆ
ปรากฏว่าหัวแคคตัสกระเด็นติดมือกันเลยทีเดียวครับ
เพราะงั้นก็เบามือหน่อยดีกว่าครับ
หลังจากแกะสก็อตเทปเสร็จเรียบร้อย
ผลก็ออกมาแล้วนะครับว่าการกราฟในครั้งนี้นั้น สำเร็จไปด้วยดี รอยต่อติดสนิท
ถือว่าผ่านแล้วนะครับงานนี้ ต่อไปก็เอาไปเลี้ยงต่อได้เลยทันทีครับ
ส่วนเรื่องแสงแดดนั้น ช่วงแรกๆ ค่อยๆ ปรับแดดไปก่อน
ให้เค้าค่อยๆ โดนแดดอ่อนๆ อย่าพึ่งจับไปชนแดดจัดๆ ในทันที
ให้เค้าเจริญเติบโตและปรับสภาพอากาศไปเรื่อยๆ เมื่อเค้าติดดี ยอดเดิน
เริ่มโตขึ้นเมื่อไรค่อยปรับเรื่องแสงให้เค้าโดนแดดมากขึ้นเรื่อยๆ
ไปทีละระดับจะดีกว่าครับ
สำหรับเรื่องวิธีการปลูกเลี้ยงดูแลไม้กราฟนั้น ผมก็เลี้ยงแบบง่ายๆ ดินปลูกที่ผมใช้ปลูกไม้กราฟก็ไม่ได้มีสูตรที่ซับซ้อนอะไรเอาแบบว่าหาซื้อได้แถวๆ บ้านนั่นล่ะครับ ผมใช้เป็นดินใบก้ามปู บางครั้งก็ใช้เป็นดินที่ใช้ปลูกแคคตัสที่เค้าขายกันถุงละ 10 - 20 ซึ่งก็ใช้ได้ไม่มีปัญหาอะไรครับ แต่ผมชอบดินใบก้ามปูมากกว่า ผมใช้แล้วรู้สึกว่ามันโอเคดีครับ
เรื่องดินปลูกเป็นเรื่องที่ไม่ตายตัว เพราะสถานที่ปลูกต้นไม้ของแต่ละคนนั้นไม่เหมือนกัน สภาพอากาศ ความชื้น ปริมาณแสงแดดที่ได้รับของแต่ละบ้านก็ไม่เท่านั้น เพราะฉะนั้นวัสดุปลูกที่ใช้จึงไม่อาจที่จะชี้ชัดได้ว่าแบบไหนดีหรือไม่ดี ท่านต้องเป็นคนทดลองและหาสูตรที่ดีและเหมาะสมกับสถานที่ปลูกของท่านด้วยตัวของท่านเองนะครับ เพราะฉะนั้นเรื่องสูตรดินปลูกผมบอกเลยว่าอย่าพึ่งเชื่อผมจะดีกว่าครับ
ส่วนเรื่องการรดนํ้าไม้กราฟนั้นก็สบายๆ ถ้าเห็นว่าดินเริ่มจะแห้งเมื่อไรผมก็จะรดนํ้าเลยทันทีไม่ได้มีกำหนดเวลาว่ากี่วันครั้ง
สำหรับแสงแดดนั้นเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมากในการปลูกแคคตัส เพราะแคคตัสนั้นชอบแดด แดดดีการเจริญเติบโตก็จะดีไปด้วยเพราะฉะนั้นผมจะให้เค้าโดนแดดให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ซึ่งสถานที่ปลูกของผมนั้นก็โดนแดดส่องตั้งแต่เช้ายันบ่ายเลยล่ะครับ โดยจะมีการการสแลนพลางแสงไว้ด้วยเพื่อป้องกันแคคตัสไหม้แดด
สำหรับการให้ปุ๋ยไม้กราฟ เรื่องนี้จริงๆ เป็นเรื่องที่ไม่ตายตัวนะครับแล้วแต่สูตรใครสูตรมัน บางคนก็ชอบใส่ปุ๋ย หรือว่ามีสูตรปุ๋ยเด็ดๆ ประจำตัว จะสูตรไหนใส่กี่วันครั้งก็ว่ากันไป แต่สำหรับผมนั้นเป็นพวกที่ไม่ได้ชอบใส่ปุ๋ยต้นไม้สักเท่าไรผมชอบเลี้ยงแบบไปเรื่อยๆ ไม่เร่งรีบ เพราะฉะนั้นการใส่ปุ๋ยของผมจะเป็นการใส่ปุ่ยแบบนานๆ ครั้ง ซึ่งปุ๋ยที่ใช้นั่นก็คือ ออสโมโค้ท ใส่ 3 เดือนครั้ง แค่นั้นจบแล้วครับ
สำหรับเรื่องวิธีการปลูกเลี้ยงดูแลไม้กราฟนั้น ผมก็เลี้ยงแบบง่ายๆ ดินปลูกที่ผมใช้ปลูกไม้กราฟก็ไม่ได้มีสูตรที่ซับซ้อนอะไรเอาแบบว่าหาซื้อได้แถวๆ บ้านนั่นล่ะครับ ผมใช้เป็นดินใบก้ามปู บางครั้งก็ใช้เป็นดินที่ใช้ปลูกแคคตัสที่เค้าขายกันถุงละ 10 - 20 ซึ่งก็ใช้ได้ไม่มีปัญหาอะไรครับ แต่ผมชอบดินใบก้ามปูมากกว่า ผมใช้แล้วรู้สึกว่ามันโอเคดีครับ
เรื่องดินปลูกเป็นเรื่องที่ไม่ตายตัว เพราะสถานที่ปลูกต้นไม้ของแต่ละคนนั้นไม่เหมือนกัน สภาพอากาศ ความชื้น ปริมาณแสงแดดที่ได้รับของแต่ละบ้านก็ไม่เท่านั้น เพราะฉะนั้นวัสดุปลูกที่ใช้จึงไม่อาจที่จะชี้ชัดได้ว่าแบบไหนดีหรือไม่ดี ท่านต้องเป็นคนทดลองและหาสูตรที่ดีและเหมาะสมกับสถานที่ปลูกของท่านด้วยตัวของท่านเองนะครับ เพราะฉะนั้นเรื่องสูตรดินปลูกผมบอกเลยว่าอย่าพึ่งเชื่อผมจะดีกว่าครับ
ส่วนเรื่องการรดนํ้าไม้กราฟนั้นก็สบายๆ ถ้าเห็นว่าดินเริ่มจะแห้งเมื่อไรผมก็จะรดนํ้าเลยทันทีไม่ได้มีกำหนดเวลาว่ากี่วันครั้ง
สำหรับแสงแดดนั้นเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมากในการปลูกแคคตัส เพราะแคคตัสนั้นชอบแดด แดดดีการเจริญเติบโตก็จะดีไปด้วยเพราะฉะนั้นผมจะให้เค้าโดนแดดให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ซึ่งสถานที่ปลูกของผมนั้นก็โดนแดดส่องตั้งแต่เช้ายันบ่ายเลยล่ะครับ โดยจะมีการการสแลนพลางแสงไว้ด้วยเพื่อป้องกันแคคตัสไหม้แดด
สำหรับการให้ปุ๋ยไม้กราฟ เรื่องนี้จริงๆ เป็นเรื่องที่ไม่ตายตัวนะครับแล้วแต่สูตรใครสูตรมัน บางคนก็ชอบใส่ปุ๋ย หรือว่ามีสูตรปุ๋ยเด็ดๆ ประจำตัว จะสูตรไหนใส่กี่วันครั้งก็ว่ากันไป แต่สำหรับผมนั้นเป็นพวกที่ไม่ได้ชอบใส่ปุ๋ยต้นไม้สักเท่าไรผมชอบเลี้ยงแบบไปเรื่อยๆ ไม่เร่งรีบ เพราะฉะนั้นการใส่ปุ๋ยของผมจะเป็นการใส่ปุ่ยแบบนานๆ ครั้ง ซึ่งปุ๋ยที่ใช้นั่นก็คือ ออสโมโค้ท ใส่ 3 เดือนครั้ง แค่นั้นจบแล้วครับ
เราไปดูภาพของพัฒนาการของไม้กราฟต้นนี้กันดีกว่าครับ ว่าเค้าเจริญเติบโตไปแล้วเป็นยังไง
จะสวยขนาดไหนเดี๋ยวผมจะไล่ภาพให้ดูการเจริญเติบโตของเค้าไปทีละระดับตั้งแต่ตอนหัวยังเล็กๆ ไปจนโตเลยก็แล้วกัน
อันนี้เป็นภาพประมาณสองเดือนหลังจากวันที่กราฟ
ยอดเดินกำลังออกสีสันสดใสเลยครับตอนนี้
ส่วนภาพนี้เป็นภาพผองเพื่อนไม้กราฟรุ่นเดียวกัน
สังเกตข้างๆ จะเป็นแคคตัสที่กราฟไว้กับตอชนิดอื่นๆ ด้วย อย่างเช่นตอแก้วมังกรซึ่งตอชนิดนี้เคยเขียนถึงไปแล้วสามารถไปอ่านกันได้ครับตามลิงก์นี้เลยครับ การกราฟแคคตัสด้วยตอแก้วมังกร
ส่วนตอที่มีใบนั่นชื่อว่า เปเกสเกีย
ตอชนิดนี้ก็เป็นตออีกชนิดที่ใช้ได้เลยทีเดียวครับ
ซึ่งก็เดียวจะมีการนำมาเขียนต่อไปในอนาคตแน่นอนครับ
ภาพต่อมาเลยดีกว่า จะเห็นว่าเจ้าแคคตัสน้อยๆ ของเราที่ต่อไว้เริ่มโตขึ้นไปอีกขั้น ตอนนี้สีสันเริ่มจะจัดจ้านขึ้นเรื่อยๆ แล้วล่ะครับ
วันเวลาก็ผ่านไปเรื่อยๆ ตัดมาอีกที
อันนี้เป็นภาพหลังจากที่ผ่านไป 3 เดือนจากวันที่กราฟ
โตมากแล้วครับตอนนี้
ตลอดระยะเวลาผ่านมาตั้งแต่วันที่กราฟติด บอกได้เลยว่าตอลูกผสมนั้นส่งดีมากจริงๆ ครับ พัฒนาการหลังจากการกราฟอยู่ในระดับที่ดี ยอดเดินตลอด และก็เริ่มที่จะออกหน่อเพิ่มเติมขึ้นมาอีกด้วย และผมก็คิดว่าหน้าร้อนนี้น่าจะมีโอกาสได้เห็นดอกแน่นอนครับ
ภาพนี้เป็นภาพ 6 เดือนกว่าๆ หลังจากวันที่กราฟ
ภาพนี้เป็นภาพ 6 เดือนกว่าๆ หลังจากวันที่กราฟ
ส่วนภาพนี้เป็นภาพล่าสุดที่พึ่งจะถ่ายไปเมื่อไม่นานมานี้เองครับ ถ้าให้นับเวลาก็ประมาณ 7 เดือนกว่าๆ หลังจากการกราฟ
จะเห็นว่าเจ้ายิมโนที่ต่อไว้นั้นหัวใหญ่ขึ้นมากๆ หัวใหญ่กว่าตอไปเยอะแล้วล่ะครับตอนนี้ ช่วงนี้เป็นช่วงที่อากาศดี แดดดีมากเพราะใกล้เข้าหน้าหนาว เจ้ายิมโนพอได้รับแสงแดดเต็มที่สีสันก็เลยจัดจ้านมากขึ้นไปอีก ส่วนตอนั้นก็ยังโอเคอยู่นะครับ เพราะงั้นประมาณนี้ก็แล้วกันนะครับกับการลงภาพพัฒนาการของไม้กราฟต้นนี้เอาเป็นสรุปเลยแล้วกันว่า ตอลูกผสมกันเป็นตอที่ใช้กราฟได้ดีอีกชนิดนึงเลยครับ
แต่อย่างที่บอกไปตอนต้นของบทความว่าตอลูกผสมนั้นก็เป็นตอที่มีข้อเสียที่สำคัญอยู่เรื่องนึงนั่นก็คือเมื่อเลี้ยงไปนานๆ เค้าจะทำปมที่รากทำให้ตอเหี่ยว ซึ่งลักษณะของอาการนั้นก็ตามรูปด้านล่างนี้เลยครับ
ตัวอย่างของตอลูกผสมที่ทำปมที่ราก
จะเห็นได้ชัดเลยนะครับว่าตอจะเหี่ยวอาการเหมือนต้นขาดน้ำ
อย่างงี้ต้องแก้ด้วยการขุดขึ้นมาล้างและตัดแต่งรากใหม่ครับ
หลังจากที่เทกระถางออกมา
ดูที่รากของตอนะครับจะเห็นชัดว่ารากมันเป็นปม สารอาหารไม่ไปเลี้ยงที่ลำต้นแต่สะสมอยู่ที่รากทำให้หัวแคคตัสที่เรากราฟไว้นั้นไม่เจริญเติบโตและตอก็จะค่อยๆ
เหี่ยวลงเรื่อยๆ ยิ่งเหี่ยวมากก็ยิ่งจะฟื้นยาก
เพราะฉะนั้นถ้าเจออาการแบบนี้แล้วล่ะก็ เราต้องตัดรากที่เป็นปมนั้นออกครับ
ตัดออกให้หมด
หลังจากที่ตัดแต่งรากที่เป็นปัญหาออกไปหมดแล้วก็นำไปผึ่งให้แผลที่เราตัดนั้นแห้งสัก
3-4 วันแล้วค่อยลงปลูกอีกครั้ง เดี๋ยวเค้าจะค่อยๆ
ฟื้นกลับมาเจริญเติบโตต่อไปครับ แต่บางครั้งหลังจากที่ตอเคยเหี่ยวไปแล้วมันก็ไม่ค่อยฟื้นกลับมาเต่งตึงเหมือนเดิมนะครับ
คืออาจจะรอดและเจริญเติบโตต่อไปได้แต่ก็ไม่สมบรูณ์แข็งแรงเหมือนอย่างเก่า
จากข้อเสียของการทำปมที่รากของตอลูกผสมทำให้ผมคิดว่าตอชนิดนี้เป็นตอที่ไม่น่าจะเหมาะกับการกราฟแล้วเลี้ยงในระยะยาวสักเท่าไร เพราะฉะนั้นในการเลือกตอที่จะนำมากราฟแคคตัส ถ้าเจ้าแคคตัสต้นนั้นป็นไม้ที่ท่านคาดหวังว่าจะเลี้ยงไปไกลๆ หลายๆ ปี เลี้ยงจนต้นใหญ่มากๆ แล้วล่ะก็ ผมว่าพวกตอชนิดอื่น อย่างตอบลู ตอหนามดำ น่าจะเป็นตัวเลือกที่ดีกว่า แต่ถ้าท่านจะกราฟไม้เพื่อหวังผลในระยะสั้น หรืออยากจะกราฟเพื่อหวังผลว่าขอให้กราฟติดง่ายๆ ติดดีๆ ไวๆ ตอลูกผสมก็ใช้ได้อยู่ครับ ติดดี ติดง่าย ส่งไว กราฟไปก่อนก็ได้ครับ แล้วเราค่อยไปรีกราฟ ยกยอดเปลี่ยนตอย้ายแคคตัสไปไว้บนตอที่ใหญ่กว่าต่อไปในอนาคตก็ได้ครับ
ซึ่งวิธีการและขั้นตอนเกี่ยวกับการเปลี่ยนตอ ยกยอดไปกราฟบนตอที่ใหญ่กว่านั้นเดี๋ยวผมจะมาเขียนเป็นบทความให้ได้อ่านกันอีกครั้งนึงก็แล้วกันนะครับ เอาไว้มาติดตามกันในอนาคตเดี๋ยวผมแปะลิงก์ให้ได้อ่านกันแน่นอนครับ
เพจของเรา https://www.facebook.com/chowcactus
จากข้อเสียของการทำปมที่รากของตอลูกผสมทำให้ผมคิดว่าตอชนิดนี้เป็นตอที่ไม่น่าจะเหมาะกับการกราฟแล้วเลี้ยงในระยะยาวสักเท่าไร เพราะฉะนั้นในการเลือกตอที่จะนำมากราฟแคคตัส ถ้าเจ้าแคคตัสต้นนั้นป็นไม้ที่ท่านคาดหวังว่าจะเลี้ยงไปไกลๆ หลายๆ ปี เลี้ยงจนต้นใหญ่มากๆ แล้วล่ะก็ ผมว่าพวกตอชนิดอื่น อย่างตอบลู ตอหนามดำ น่าจะเป็นตัวเลือกที่ดีกว่า แต่ถ้าท่านจะกราฟไม้เพื่อหวังผลในระยะสั้น หรืออยากจะกราฟเพื่อหวังผลว่าขอให้กราฟติดง่ายๆ ติดดีๆ ไวๆ ตอลูกผสมก็ใช้ได้อยู่ครับ ติดดี ติดง่าย ส่งไว กราฟไปก่อนก็ได้ครับ แล้วเราค่อยไปรีกราฟ ยกยอดเปลี่ยนตอย้ายแคคตัสไปไว้บนตอที่ใหญ่กว่าต่อไปในอนาคตก็ได้ครับ
ซึ่งวิธีการและขั้นตอนเกี่ยวกับการเปลี่ยนตอ ยกยอดไปกราฟบนตอที่ใหญ่กว่านั้นเดี๋ยวผมจะมาเขียนเป็นบทความให้ได้อ่านกันอีกครั้งนึงก็แล้วกันนะครับ เอาไว้มาติดตามกันในอนาคตเดี๋ยวผมแปะลิงก์ให้ได้อ่านกันแน่นอนครับ
เพจของเรา https://www.facebook.com/chowcactus
No comments:
Post a Comment
Note: Only a member of this blog may post a comment.